วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่ 11 การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน

การวางแผนและการพยากรณ์ทางการเงิน

   
งบการเงินล่วงหน้า (Pro Forma Financial Statements)
          
งบการเงินล่วงหน้าจะเป็นเครื่องมือในการวางแผนและพยากรณ์ทางการเงิน โดยการจัดทำงบการเงินล่วงหน้าจะมีวัตถุประสงค์ คือ
เพื่อประเมินว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทและเป็นไปตามที่นักลงทุนคาดไว้หรือไม่
เพื่อทำให้ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นถ้าการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ
เพื่อคาดการณ์ความต้องการเงินทุนในอนาคต
เพื่อใช้ประเมินกระแสเงินสดที่จะสามารถใช้ได้ในอนาคต
1)      กระบวนการวางแผนทางการเงิน
มี
3ขั้นตอน
ขั้นที่
1การจัดทำแผนกลยุทธ์  strategic  plans
     1.1 จุดมุ่งหมายของบริษัท
     1.2ขอบเขตและการดำเนินงานของบริษัท
     1.3เป้าหมายของบริษัท
     1.4กลยุทธ์ของบริษัท
ขั้นที่
2การจัดทำแผนปฏิบัติงาน  operating  plans
     -ใครหรือหน่วยงานใด รับผิดชอบงานใด
     -เรื่มงานเมื่อไร
     -เสร็จสิ้นงานเมื่อไร
     -งานที่ทำมีผลทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าไร
     -งานที่ทำมีผลทำให้กิจการมีกำไรเพื่มขึ้นเท่าไร
ขั้นที่
3 การจัดทำแผนทางการเงิน financial  plans
        1)  ทำงบการเงินล่วงหน้าและใช้งบนั้นเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของแผนการดำเนินงานต่อกำไรที่คาดไว้
        2)    กำหนดเงินทุนที่จะใช้  ซึ่งจะรวมเงินทุนที่ต้องใช้ทั้งหมดในธุรกิจ
3)        พยากรณ์เงินทุนที่จะหามาได้ในอนาคต  ซึ่งรวมถึงเงินทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทเองและเงินทุนจากแหล่งภายนอก
4)      สร้างระบบการควบคุมในการดูแลการจัดสรรเงินทุนภายในบริษัท
5)      สร้างแผนปฏิบัติงานสำหรับการปรับแผนงานเมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่พยากรณ์ไว้
6)      สร้างบรรทัดฐานสำหรับการกำหนดผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหาร  เมื่อผู้บริหารทำความมั่งคั่งให้แก่บริษัท
งบกำไรขาดทุน Income  statement
            1.ทำจากการบันทึกทางบัญชี
            2.ทราบว่างวดที่ผ่านมามี รายได้ รายจ่าย กำไรเท่าไร
            3.เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง
ประมาณการงบกำไรขาดทุน
Projected  income  statement
           1.ทำขึ้นจากการวางแผนของกิจการ
           2.ทราบว่าอนาคตมีรายได้  รายจ่าย  กำไรเท่าไร
           3.เป็นตัวเลขที่ตเองให้เกิดขึ้นในอนาคต
งบดุล
balance sheet
           1.ทำจากการบันทึกทางบัญชี
           2.ทราบว่า (ณ วันใดวันหนึ่งในอดีต) มีสินทรัพย์  หนี้สินและส่วนของผู้เป็นเจ้าของเท่าไร
           3.เป็นตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง
ประมาณการงบดุล
Projected balance sheet
           1.ทำขึ้นจากการวางแผนของกิจการ
           2.ทราบว่า(ณ วันใดวันหนึ่งในอนาคต)ค่ดว่าจะมีสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของผู้เป็นเจ้าของเท่าไร
           3. เป็นตัวเลขที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต

การพยากรณ์ยอดขาย คือ การพยากรณ์จำนวนหน่วยและจำนวนเงินของยอดขาย  สำหรับช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต  โดยพิจารณาจาก
          -ยอดขายในอดีต
          -ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคนั้น
          -การพยากรณ์อุตสาหกรรม
          -ปัจจัยอื่นๆ

การพยากรณ์งบการเงิน
มีขั้นตอนดังนี้
1.     พยากรณ์งบกำไรขาดทุน
2.     พยากรณ์งบแสดงฐานะการเงิน
3.     สรุปการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก
พยากรณ์งบกำไรขาดทุน
ทำให้ทราบว่ามีกำไรสุทธิเหลือจากการจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนภายในเท่าไหร่
ตัวอย่างการพยากรณ์งบกำไรขาดทุน
        ปี 2002
              ปี 2003 พยากรณ์
วิธีคิด
       ขาย (พยากรณ์เพิ่ม 10%)
        3000
       3300
       ยอดปี 2003 = ยอดปี 2002 เพิ่ม 10%
       ต้นทุนทั้งสิ้น
        2616 (87.2%)
        2878  
         เอาอัตราส่วนต้นทุนต่อยอดขายของปี 2002 มาคูณกับยอดขายปี 2003
        ค่าเสื่อมราคา
        100
         110
      ค่าเสื่อมปี 2003 = ค่าเสื่อมปี 2002 เพิ่ม 10%
       EBIT
        284
         312
       ยอดขาย2003 - ต้นทุน2003 - ค่าเสื่อม2003
       ดอกเบี้ยจ่าย
        88
          88
       เท่าเดิม ตามโจทย์
       EBT
        196
         224
       EBIT - ดอกเบี้ยจ่าย
       ภาษี (40%)
        78
          89
       EBT x 40%
       กำไรสุทธิ ก่อนจ่ายเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์
        118
         135
        EBT - ภาษี
      เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์
         4
           4
        เท่าเดิม
      กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ
       114
         131
        กำไรสุทธิ - ปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์
       เงินปันผลหุ้นสามัญ
        58
          63
        เงินปันผลปี 2002 คูณ 108%
       โอนไปกำไรสะสม
        56
          68 
        กำไรสุทธิ - เงินปันผล
พยากรณ์งบแสดงฐานะการเงิน
§  ขั้นนี้ทำให้ทราบว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น ต้องลงทุนในสินทรัพย์แต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
§  จัดหาแหล่งเงินทุนจากภายในเพียงพอหรือไม่
§  ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกเท่าไหร่
ตัวอย่าง
ข้อสมมติ
§  ปี 2002 ใช้สินทรัพย์ถาวรเต็มกำลังการผลิตแล้ว (ปี 2003 ต้องเซื้อเพิ่ม)
§  สินทรัพย์ทุกรายการเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนเดียวกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น
งบดุล (ฝั่งสินทรัพย์)
             สินทรัพย์ (ล้านบาท)
                 คำนวณ
         พยากรณ์
        เงินสดและหลักทรัพย์
         1.10(10)
            11
          ลูกหนี้การค้า
         1.10(375)
          412
         สินค้าคงเหลือ
         1.10(615)
          677
         สินทรัพย์ถาวร
        1.10(1000)
         1100
         รวม
           2200
         2200
สินทรัพย์รวม 2200 ล้านบาท
งบดุล (ฝั่งหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น)
         หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
              พยากรณ์
       เจ้าหนี้การค้า
      1.10(60) = 60
       ตั๋วเงินจ่าย
             110
       ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
     1.10(140) = 154
       หนี้สินระยะยาว
             754
      หุ้นบุริมสิทธิ์ (400,000 หุ้น)
               40
       หุ้นสามัญ (50,000,000 หุ้น)
             130
       กำไรสะสม
             834
        รวม
            2088
หนี้สินและทุน รวม 2088 ล้านบาท ยังขาดอีก 112 ล้านบาท
สรุปการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอก
จากตัวอย่าง ได้ทำการตัดสินใจดังนี้
§  กู้เงินธนาคาร (ตั๋วเงินจ่าย) 25% = 28 ล้านบาท
§  จำหน่ายพันธบัตร 25% = 28 ล้านบาท
§  จำหน่ายหุ้นสามัญ 50% = 56 ล้านบาท
รวม 100% 112 ล้านบาท
ปรับปรุงงบดุลส่วนหนี้สินและทุน
              หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
                พยากรณ์    
              AFN
         เจ้าหนี้การค้า
         1.10(60) = 60
         ตั๋วเงินจ่าย
              110
    + 28 = 138
        ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
       1.10(140) = 154
         หนี้สินระยะยาว
               754
     + 28 = 782
        หุ้นบุริมสิทธิ์ (400,000 หุ้น)
                40
       หุ้นสามัญ (50,000,000 หุ้น)
               130
     +56 = 186
         กำไรสะสม
              834
         รวม
             2088
     + 112 = 2200

สูตร AFN
เงินทุนที่ต้องการเพิ่มขึ้น = สินทรัพย์ที่ต้องการเพิ่มขึ้น - หนี้สินที่เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ - กำไรสะสมที่เพิ่มขึ้น


AFN = (A*/S0)Δs -(L*/S0)Δs - MS1(RR)

A* สินทรัพย์
L* หนี้สิน
M = Profit Margin (กำไรต่อหน่วย)
RR = Retention Ratio (อัตราที่เก็บไว้เป็นกำไรสะสม)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น