วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่6 เงินทุนระยะยาว

เงินทุนระยะยาว

        หลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่กิจการซื้อไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลประโยชน์จากการลงทุนนั้น และไม่มีความตั้งใจที่จะขายเมื่อต้องการใช้เงินสด ซึ่งเป็นเงินลงทุนในลักษณะที่ไม่ใช่เงินลงทุนชั่วคราว หรือสินทรัพย์หมุนเวียน แต่เป็นเงินลงทุนประเภทที่จัดอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

เงินทุน หมายถึง เงินตราที่องค์การธุรกิจจัดหามา เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจาการลงทุนอย่างคุ้มค่า เงินทุนมีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มตั้งกิจการ และระหว่างดำเนินกิจการ เงินทุนทำให้การผลิต การซื้อขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ธุรกิจขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของเงินทุน เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. เงินทุนคงที่
เงินทุนคงที่ หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินถาวร ทรัพย์สินถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี ดังนั้น เงินทุนคงที่ องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการลงทุนซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
2. เงินทุนหมุนเวียน
เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียนหรือใช่ในการดำเนินกิจการ ทรัพย์สินหมุนวเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานไม่เกินหนึ่งปี ดังนั้นเงินทุนหมุนเวียน องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการซื้อวัตถุดิบ ซื้อสินค้า จ่ายค่าแรงงาน จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายค่าขนส่ง จ่สยค่าโฆษณา จ่ายค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น


ประกอบด้วย
    1. 
เงินกู้ที่มีกำหนดระยะเวลาการชำระคืน
  2.หุ้นกู้
    3.หุ้นบุริมสิทธิ
    4.สามัญ
    5.การเช่าทรัพย์สินระยะยาว
1.เงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลาชำระคืน (Term Loans)
มีลักษณะสำคัญ ประการ
          1) มีกำหนดระยะเวลาการชำระคืนระหว่าง ถึง 10 ปี
          2) มีการชำระคืนเป็นงวดๆ ตลอดอายุของการกู้ยืม
    3) มีหลักค้ำประกัน

       กำหนดระยะเวลาชำระคืน (Maturities)
            1.ธนาคารพาณิชย์กำหนดระยะเวลาการชำระคืนระหว่าง 1-5 ปี
            2.บริษัทประกันภัยกำหนดระยะเวลาคืนระหว่าง 5-15 ปี
      ข้อจำกัดการกู้ยืม (Restrictive Covenants)
            1.กำหนดเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนขั้นต่ำ (working capital requirement)
            2.กำหนดข้อจำกัดในการกู้ยืมเพิ่มเติม (additional borrowing)
            3.ลูกหนี้จะต้องเสนองบการเงินในการพิจารณาเงินกู้ (periodic financial statements)
      การชำระคืน (Repayment Schedules)
      เงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลาชำระคืน จะมีกำหนดระยะเวลาการชำระคืน เป็นงวดๆแต่ละงวดจำนวนเงินเท่าๆ กัน
                        วิธีการคำนวณเงินที่ต้องชำระคืนแต่ละงวด
                                          PV = PMT ( 1 – 1 / (1+i)n )
                                            _________________
                                                                  i
                                  หรือ  คำนวณโดยใช้ตารางปัจจัยดอกเบี้ยมูลค่าปัจจุบัน

                                           PV = PMT(PVIFA i,n )


     2.  หุ้นกู้  (Bonds) คือ ประเภทของหนี้สิน หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวที่ออกโดยผู้กู้หรือลูกหนี้ ซึ่งสัญญาว่าจะชำระดอกเบี้ยจำนวนคงที่แต่ละปีและจะชำระคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถือหรือเจ้าหนี้ตามระยะเวลากำหนดไว้ล่วงหน้า
  ลักษณะและเงื่อนไขที่สำคัญของหุ้นกู้  ได้แก่
              -สิทธิในการเรียกร้องในทรัพย์สินและรายได้
              -ราคาที่ตราไว้
             -อัตราดอกเบี้ย
             -กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน
             -คู่สัญญา
             -อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน
             -การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้
    สิทธิในการเรียกร้องในทรัพย์สินและรายได้ (Claims on Assets and Income)
สิทธิในการเรียกร้องในทรัพย์สินและรายได้ของผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับการชำระก่อนหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ
    ราคาที่ตราไว้ (Par Value)
         คือ มูลค่าตามหน้าตั๋ว ซึ้งจะชำระคืนให้ผู้ถือหุ้น เมื่อหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน
    อัตราดอกเบี้ย (Coupon Interest Rate)
  
อัตราดอกเบี้ยที่ระบุในหุ้นกู้ แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาที่ตราไว้ของหุ้นกู้ซึ่งจะจ่ายให้แต่ละปีในรูปดอกเบี้ย
    กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน (Maturity)
 
อายุของหุ้นกู้หรือช่วงระยะเวลาที่ผู้ออกหุ้นกู้จะชำระคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้
    คู่สัญญา (Indenture)
          คือ สัญญาระหว่างบริษัทที่ออกหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ( trustee)  โดยในสัญญาจะระบุเงื่อนไขของหนี้สินและรายละเอียดต่างๆ เช่น
           -ห้ามบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ขายบัญชีลูกหนี้ของบริษัท
           -จำกัดเงินปันผลของหุ้นสามัญ
           -ข้อจำกัดการซื้อขายทรัพย์สินถาวร
           -กำหนดจำนวนหนี้สินที่บริษัทจะจัดหาเพิ่มเติม
    อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current Yield)
          คือ อัตราส่วนของดอกเบี้ยจ่ายแต่ละปีต่อราคาตลาดของหุ้นกู้

          อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน   =     ดอกเบี้ยจ่าย
                                                    ___________
                                                         ราคาตลาดของหุ้นกู้
     การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ (Bond Rating)
              เป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับความเสี่ยงของหุ้นกู้ในอนาคต  ซึ่งจะเป็นตัวชี้ให้เห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้  โดยปัจจัยของหุ้นกู้ในอดีตที่มีบทบาทสำคัญในการจัดอันดับ ได้แก่
         -การจัดหาเงินทุนของบริษัทมาจากส่วนของเจ้าของมากกว่าส่วนของหนี้สิน
         -กำไรจากการดำเนินงาน
         -ความผันผวนของผลตอบแทนในอดีต
         -ขนาดของบริษัท
         -บริษัทมีการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิน้อยหรือไม่ในการระดมเงินทุนของบริษัท
อันดับความน่าเชื่อถือต่ำ   ผลตอบแทนในการลงทุนสูง
      ประเภทของหุ้นกู้ (Types of Bonds)
1.      หุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน (Debentures) : เป็นหุ้นกู้ที่ไม่ต้องมีทรัพย์สินมาค้ำประกันหุ้นกู้ที่ออก  หุ้นกู้ชนิดนี้ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะสูงกว่าหุ้นที่มีหลักค้ำประกัน             
2.      หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debentures) : เป็นหุ้นกู้ชนิดไม่มีหลักค้ำประกัน  ซึ่งมีการกำหนดสิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ไว้ด้อยกว่าสิทธิเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
3.      หุ้นกู้จำนอง (Mortgage Bonds) : เป็นหุ้นกู้ที่มีหลักค้ำประกัน  ซึ่งโดยปกติทรัพย์สินที่นำมาค้ำประกันจะมีมูลค่ามากกว่าหุ้นกู้จำนอง  แต่ในกรณีที่ทรัพย์สินค้ำประกันขายได้น้อยกว่ามูลค่าหุ้นกู้  ส่วนต่างที่ขาดไปนั้นจะเปลี่ยนเป็นส่วนเจ้าหนี้สามัญทั่วไปEurobonds : เป็นหุ้นกู้ที่ออกเป็นสกุลเงินดอลล่าร์หรือสกุลเงินอื่น  และขายให้แก่นักลงทุนนอกประเทศที่เป็นเจ้าของเงินตราสกุลนั้น
4.      หุ้นกู้ที่ไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero Coupon Bonds) : เป็นหุ้นกู้ที่กำหนดให้ไม่จ่ายดอกเบี้ย  แต่จะจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้  โดยผลตอบแทนที่ได้รับมากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นกู้
5.      Junk Bonds : เป็นหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงและการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับลงทุน (BB) แต่มีการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง
3.หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
      เป็นหลักทรัพย์ลูกผสม (hybrid security)  เพราะมีลักษณะที่คล้ายทั้งหุ้นกู้และหุ้นสามัญ
ลักษณะที่เหมือนหุ้นสามัญ
-ไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน
-ถ้าบริษัทไม่จ่ายเงินปันผลจะไม่ถูกบังคับให้ล้มละลาย
-เงินปันผลไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษี
ลักษณะที่เหมือนหุ้นกู้
-เงินปันผลมีการจ่ายในอัตราคงที่เหมือนดอกเบี้ยจ่ายของหุ้นกู้
การจ่ายเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ                                                                                                      -จำนวนเงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาที่ตราไว้ หรือกำหนดเป็นจำนวนคงที่
ลักษณะของหุ้นบุริมสิทธิ (Features of Preferred stock)
การออกหุ้นบุริมสิทธิหลายประเภท (Multiple Classes)
-บริษัทสามารถออกหุ้นบุริมสิทธิได้มากกว่าหนึ่งประเภท
สิทธิการเรียกร้องในทรัพย์สินและรายได้ (Claim on Assets and Income)
                              -สิทธิในการเรียกร้องในสินทรัพย์เมื่อบริษัทล้มละลายจะต่อจากหุ้นกู้แต่       ก่อนหุ้นสามัญ
-สิทธิในการเรียกร้องรายได้ (การจ่ายเงินปันผล) ก่อนหุ้นสามัญ
การสะสมของเงินปันผล (Cumulative Dividends)
-หุ้นบุริมสิทธิสามารถสะสมเงินปันผลได้ เมื่อปีใดที่บริษัทไม่ได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิสามารถนำเงินปันผลนี้ไปจ่ายในปีถัดไปได้
การแปลงสภาพ (Convertibility)
-สามารถแปลงสภาพจากหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญได้
รูปแบบการไถ่ถอน (Retirement Features)
-การไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิโดยการเรียกซื้อหุ้นบุริมสิทธิกลับคืน โดยมี            ค่าชดเชยประมาณ 10%สูงกว่าราคาที่ตราไว้
-การไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิโดยการกำหนด sinking fund โดยใช้เงินจาก           กองทุนในการไถ่ถอน
สิทธิในด้านอื่นๆ
เช่น  จำกัดการจ่ายเงินปันผลให้หุ้นสามัญในกรณีกองทุนที่ใช้ในการไถ่ถอน (sinking fund)ไม่เพียงพอหรือบริษัทประสบปัญหาการเงิ

4.หุ้นสามัญ (Common Stock)
เป็นหุ้นที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของในบริษัทของผู้ถือหุ้น
-ไม่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน สามารถอยู่ได้เท่ากับอายุของบริษัท
-ไม่มีการกำหนดเงินปันผลจ่ายสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่จะมีประกาศเงินปันผลจ่ายในแต่ละปี
-ในกรณีบริษัทล้มละลายผู้ถือหุ้นสามัญจะยังไม่ได้รับการชำระใดๆจนกว่าเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเรียบร้อยแล้ว
ลักษณะของหุ้นสามัญ (Characteristics  of Common Stock)
สิทธิการเรียกร้องในรายได้ของบริษัท (Claim 0n Income)
                -  มีสิทธิเรียกร้องในรายได้ต่อจากเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ
                -  รายได้ที่จะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญจะอยู่ในรูปเงินปันผลหรือกำไรสะสมที่บริษัทจะนำไปลงทุนต่อ
สิทธิในการเรียกร้องในทรัพย์สิน (Claim on Assets)
               -  กรณีบริษัทเลิกกิจการ สิทธิการเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นสามัญจะเกิดขึ้นต่อจากเจ้าหนี้และหุ้นบุริสิทธิ
               -  กรณีบริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นสามัญไม่มีสิทธิในการเรียกร้องทรัพย์สิน 
สิทธิในการออกเสียง (Voting Rights)
                  สิทธิในการเลือกคณะกรรมการบริหารของบริษัทและสิทธิในการพิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบางอย่างของบริษัท
                 วิธีการออกเสียง
                    -  วิธีระบบเสียงข้างมาก (majority voting)
                    -  วิธีลงคะแนนแบบสะสม (cumulative voting)
สิทธิในการซื้อหุ้นใหม่ (Preemptive Rights)
                  ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญใหม่ในสัดส่วนที่เท่ากับการถือหุ้นเดิม  เพื่อรักษาอำนาจในการควบคุมกิจการ  โดยผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
จำกัดความรับผิดชอบ (Limited Liability)

                  กรณีเมื่อเกิดการล้มละลายของบริษัท  ผู้ถือหุ้นสามัญจะรับผิดชอบเท่ากับเงินที่ลงทุนในบริษัทเท่านั้น

5.
การเช่าทรัพย์สินระยะยาว (Leases)

            เป็นสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิการใช้ทรัพย์สินของผู้เช่าตลอดระยะเวลาการเช่า  โดยเมื่อครบกำหนดผู้เช่าจะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า
ลักษณะการเช่าทรัพย์สิน
            สัญญาเช่าทางการเงิน (Financial lease)
            เป็นสัญญาเช่าที่ผู้เช่าไม่สามารถบอกยกเลิกการเช่าได้ก่อนที่สัญญาจะหมด  ดังนั้นสัญญาลักษณะนี้ถือเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาว
สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating lease)
            เป็นสัญญาเช่าที่ผู้เช่าสามารถบอกยกเลิกการเช่าได้ก่อนกำหนด  ดังนั้นสัญญาเช่าลักษณะนี้ถือเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้น
ประเภทของสัญญาเช่าทรัพย์สิน (Types of Lease Arrangements)
สัญญาเช่าโดยตรง (Direct Leasing)
                 เป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของสินทรัพย์ให้เช่าโดยตรงกับผู้เช่า
สัญญาการขายแล้วเช่ากลับคืน (Sale and Leaseback)
                 เป็นสัญญาที่ผู้เช่าขายทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ให้เช่า  โดยมีการทำสัญญาระบุว่าจะขอเช่าทรัพย์สินกลับคืนภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด
สัญญาเช่าภาระผูกพัน (Leveraged Leasing)


                 เป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่ามีการจัดหาเงินทุนจากเจ้าหนี้ไปซื้อทรัพย์สินเพื่อนำทรัพย์สินดังกล่าวไปให้เช่า














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น